หัวข้อ   “ คนไทยกับการเลือกตั้ง ส.ว. ปี 57
ประชาชน 63 % ทราบว่า 30 มี.ค. จะมีการเลือกตั้ง ส.ว. แต่มากถึง 64 % บอกไม่รู้ว่า ส.ว. ทำหน้าที่อะไร
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เนื่องด้วยวันที่ 30 มีนาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
แทนวุฒิสมาชิก (แบบเลือกตั้ง)ชุดปัจจุบัน ที่กำลังจะหมดวาระลง ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,090 คน พบว่า
 
                  ประชาชน ร้อยละ 63.0 ทราบว่าวันที่ 30 มีนาคมที่จะถึงนี้
เป็นวันเลือกตั้ง ส.ว.
ขณะที่ ร้อยละ 37.0 ไม่ทราบ โดยประชาชน ร้อยละ 55.9
บอกว่าตั้งใจออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งแน่นอน
และร้อยละ 18.8 บอกว่าคงไม่ออกไป
ใช้สิทธิ์เพราะติดธุระ ส่วนอีกร้อยละ 25.3 บอกว่ายังไม่แน่ใจ
 
                  เมื่อถามว่าหน้าที่หลักของ ส.ว. คืออะไร ประชาชน ร้อยละ 64.3
บอกว่า ไม่ทราบ
ที่เหลือร้อยละ 35.7 บอกว่าทราบ โดยระบุว่า ส.ว. ทำหน้าที่กลั่นกรอง
กฎหมาย ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ตรวจสอบการใช้งบประมาณของแผ่นดิน
เป็นต้น
 
                  เมื่อถามต่อว่าผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาที่ลงเลือกตั้งในรอบนี้
มีนักการเมืองหรือพรรคการเมืองหนุนหลังอยู่หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 53.8
คิดว่ามี
ขณะที่ร้อยละ 10.5 คิดว่าไม่มี และร้อยละ 35.7 ไม่แน่ใจ
 
 
 
                  สำหรับผลกระทบจากปัญหาการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จะส่งผลทำให้ประชาชนเบื่อการออกไป
เลือกตั้ง ส.ว. ในครั้งนี้หรือไม่ ประชาชนร้อยละ 57.5 ระบุว่า “ส่งผลทำให้เบื่อ”
ขณะที่ ประชาชนร้อยละ 42.5
ระบุว่า “ไม่เบื่อ ไม่ส่งผล”
 
                  ด้านความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “การเลือกตั้ง ส.ว. ในครั้งนี้ ว่าจะมีปัญหาเหมือนการเลือกตั้ง ส.ส.
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหรือไม่” ประชาชนร้อยละ 48.8 คิดว่าคงไม่มี
และร้อยละ 29.5 คิดว่าน่าจะมี
ที่เหลือร้อยละ 21.7 ยังไม่แน่ใจ
 
                  ส่วนเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกบุคคลที่สมัครเป็น ส.ว. ในการเลือกตั้งครั้งนี้คือ ดูจากความรู้
ความสามารถและผลงานที่ผ่านมา (ร้อยละ 73.9)
รองลงมาคือ ดูจากชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักในสังคม (ร้อยละ 6.8)
และการประชาสัมพันธ์ตัวเองให้สังคมได้รับรู้ (ร้อยละ 6.8)
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. การรับทราบถึงการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม 2557

 
ร้อยละ
ทราบ
63.0
ไม่ทราบ
37.0
 
 
             2. ความเห็นต่อการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้

 
ร้อยละ
ตั้งใจออกไปใช้สิทธิ์แน่นอน
55.9
คงไม่ออกไปใช้สิทธิ์เพราะติดธุระ
18.8
ยังไม่แน่ใจ
25.3
 
 
             3. การรับรู้ของประชาชนต่อ หน้าที่หลักของสมาชิกวุฒิสภา

 
ร้อยละ
ทราบ
(โดยระบุว่า ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
               ตรวจสอบการใช้งบประมาณของแผ่นดิน เป็นต้น)
35.7
ไม่ทราบ
64.3
 
 
             4. ความเห็นต่อ ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา ที่ลงเลือกตั้งในรอบนี้ ว่ามีนักการเมืองหรือพรรคการเมือง
                 หนุนหลังอยู่หรือไม่

 
ร้อยละ
มี
53.8
ไม่มี
10.5
ไม่แน่ใจ
35.7
 
 
             5. จากปัญหาการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ส่งผลทำให้เบื่อการออกไปเลือกตั้ง ส.ว. ในครั้งนี้หรือไม่

 
ร้อยละ
ส่งผลทำให้เบื่อ
57.5
ไม่เบื่อ ไม่ส่งผล
42.5
 
 
             6. ความเห็นต่อการเลือกตั้ง ส.ว. ในครั้งนี้ ว่าจะมีปัญหาเหมือนการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์
                 ที่ผ่านมา หรือไม่

 
ร้อยละ
คงไม่มี
48.8
น่าจะมี
29.5
ไม่แน่ใจ
21.7
 
 
             7. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกบุคคลที่สมัครเป็น ส.ว. ในการเลือกตั้งครั้งนี้

 
ร้อยละ
ดูจากความรู้ความสามารถ และผลงานที่ผ่านมา
73.9
ดูจากชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักในสังคม
6.8
การประชาสัมพันธ์ตัวเองให้สังคมได้รับรู้
6.8
เลือกคนที่มีความเกี่ยวโยงกับพรรคการเมือง หรือ นักการเมืองที่ชอบ
4.0
อื่นๆ อาทิ ดูจากบุคลิกภาพ ไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง เป็นคนดี ฯลฯ
8.5
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ในประเด็น การรับรู้
กำหนดการวันเลือกตั้ง ส.ว. การออกไปใช้สิทธ์เลือกตั้ง ส.ว ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม การรับรู้ต่อหน้าที่หลักของ
ส.ว. และเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกบุคคลที่จะเข้ามาเป็น ส.ว. รวมถึงทัศนคติทางการเมืองที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งส.ว.
ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทาง
ในการแก้ปัญหาของประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย
(Simple Random Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการโทรศัพท์สัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,090 คน
เป็นชายร้อยละ 51.5 และหญิงร้อยละ 48.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 5 – 7 มีนาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 มีนาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
561
51.5
             หญิง
529
48.5
รวม
1,090
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
82
7.5
             26 – 35 ปี
223
20.5
             36 – 45 ปี
290
26.6
             46 ปีขึ้นไป
495
45.4
รวม
1,090
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
775
71.1
             ปริญญาตรี
254
23.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
61
5.6
รวม
1,090
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
133
12.2
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
172
15.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
226
20.7
             เจ้าของกิจการ
39
3.6
             รับจ้างทั่วไป
157
14.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
139
12.8
             นักศึกษา
35
3.2
             เกษตรกร / ประมง
162
14.9
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
27
2.4
รวม
1,090
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776